Kotavaree

อะไรคือ ‘สไตล์’ เพลงดนตรีปี่พาทย์ฝั่งธนบุรี หากพิจารณาจากเสียงดนตรีและขับร้องของวงปี่พาทย์บ้านใหม่หางกระเบน [พาทยรัตน์]

December 29, 2022

‘สไตล์’ เพลงดนตรีปี่พาทย์ฝั่งธนบุรี นัยยะหนึ่งจึงโดดเด่นด้วยฆ้องวงใหญ่ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงถึงกันระหว่าง การใช้มือ-ทำนองเพลง-การฝึกปฏิบัติ ซึ่งแน่นอนว่า ต้องก่อรูปขึ้นจากภูมิปัญญาความรู้ดั้งเดิมของสำนักที่มีเกี่ยวกับฆ้องวงใหญ่อย่างดียิ่ง โดยเฉพาะเพลงหลักการเกี่ยวข้องพิธีกรรม ที่ถือได้ว่ามีหลักฐานใหญ่โตมากกว่าเพลงประเภทอื่นของปี่พาทย์ฝั่งธนฯ

50 ปี ปี่พาทย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา : วิถีผลิตครู-ศิลปินปี่พาทย์ บนเส้นทางการศึกษาปัจจุบัน

December 2, 2020

โดยเฉพาะ ‘บ้านสมเด็จเจ้าพระยา’ สถาบันเปิดสอนหลักสูตรดนตรี ตั้งแต่มีสถานะตั้งต้นเป็นวิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่ชัดเจนแล้วว่ามีวิถีความคิด ‘สร้างสรรค์’ ให้ความสำคัญกับการยอมรับอัตลักษณ์ทางดนตรีไทยที่ ‘หลากหลาย’

ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ ครูดนตรีไทยเจ้าของวงสิงห์บุรี

October 13, 2020

บทความสารคดีขนาดยาว ร้อยเรียงเรื่องราวปฏิบัติตนของครูดนตรีไทย ชื่อ ‘ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ’ ที่ไม่เพียงเป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ หากแต่เป็นแรงบันดาลใจและตัวอย่างกำลังใจให้คนในโลกวิชาชีพครู

รังสรรค์ บัวทอง นักปี่พาทย์ ครูดนตรี และบทบาทหมาดใหม่ที่ได้รับ

August 19, 2020

ทันทีที่ข่าวจัด ‘คนรักดนตรีไทยรวมใจช่วยป๋อม บอยไทย’ แพร่สะบัดหน้าสื่อออนไลน์ แม้ในหมู่แวดวงคนดนตรีปี่พาทย์จะพอทราบ ว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ บัวทอง ทัพหน้านักระนาด ‘บ้านบัวทอง’ จังหวัดสุพรรณบุรี จะเคยผ่านสังเวียนประชันชั้นเชิงเพลงดนตรีกับคุณชัยยุทธ โตสง่า [ป๋อม บอยไทย] ในนาม ‘บ้านโตสง่า’ มาแล้วในอดีต หากแต่เขาไม่รอช้าขานรับพร้อมยื่นมืออาสาเป็นเจ้าภาพสถานที่จัด

“พิพิธภัณฑ์ดนตรีเพื่อการศึกษา” ของวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หายไปไหน ?

July 15, 2020

ควบคู่กับการบุกเบิกการเรียนการสอนดนตรีเป็นวิชาเอกสถาบันแรกในระดับอุดมศึกษา ในหลักสูตรประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง [ป.กศ.ชั้นสูง] ของวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 กิจกรรมสำคัญที่ได้รับความสนใจจากนักเรียนนักศึกษาและเป็นความคิดก้าวหน้าทางวิชาการดนตรีสมัยนั้น คือ “นิทรรศการดนตรี”

‘ไม้ตะขาบ’ เสียงจังหวะในดนตรีพิธีกรรม เเละเสียงกระทบไล่สัตว์ในสังคมชาวสวน

May 27, 2020

กล่าวสั้นรวบรัดกระชับเพื่อเข้าใจ ‘ไม้ตะขาบ’ เป็นเครื่องกระทบในวัฒนธรรมไม้ไผ่ ทำหน้าที่เฉกเช่นกรับ เกราะ โกร่ง สำคัญที่เสียงจังหวะหนักจากแรงดีดกระทบไม้ไผ่ ดัง ‘ปัง-ปัง’ ไม่ต่างเสียงจังหวะหนักอื่นๆ ที่ได้จากอาการกระทุ้ง กระแทก กระทั่ง เครื่องเคาะตีไม้ไผ่/ไม้เนื้อแข็ง

ใครคือ ‘สุรศักดิ์ กิ่งไทร’ หนึ่งในสี่เจ้าของเสียงปี่ชวา ในขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค

December 11, 2019

นิยามตัวตน ‘สุรศักดิ์ กิ่งไทร’ ในหนึ่งย่อหน้า เขาเป็นคนจังหวัดลพบุรี ศิษย์เก่าวิทยาลัยนาฏศิลป กรุงเทพฯ ทุกวันนี้ตำแหน่งหน้าที่งานหลัก คือดุริยางคศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เสียงเครื่องเป่าไทยทั้งปี่/ขลุ่ยผลงานบรรเลงของเขา นอกจากปรากฏในส่วนงานราชการบนพื้นที่ดนตรีไทยในขนบ เขายังเป็นทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังเจ้าของเสียงเครื่องเป่าไทยบนพื้นที่ดนตรีร่วมสมัย

หยั่งตื้นลึกท้องธารจักรวาลความรู้ ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล จาก ‘โหมโรงอาทิตย์อุทัย’

October 30, 2019

ต้องไม่ลืมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ มีรับสั่งให้ครูเทวาฯ แต่ง โหมโรงอาทิตย์อุทัย เมื่อ พ.ศ. 2480 ขณะออกไปเฝ้าที่ตำหนักประเสบัน เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ก็เท่ากับว่าโหมโรงนี้เกิดขึ้นในขณะที่ครูเทวาฯ มีอายุเพียง 30 ปี เท่านั้น

ใครคือ ‘นายสอนผ่านฟ้า’ ศิษย์เจ้าคุณประสานฯ เจ้าของตระโหมโรง 33 ตัว ที่ครูบุญยงค์ เกตุคง กล่าวขวัญถึง

September 23, 2019

‘ครูสอนเพชรบุรี’ ที่ครูบุญยงค์กล่าวทิ้งท้ายไว้เป็นเบาะแส สืบสาวราวเรื่องแล้วแน่นอนว่าไม่ใช่ครูหลวงประดิษฐไพเราะ [ศร ศิลปบรรเลง] ครูสอน วงฆ้อง หรือครูสอน อยู่ประคอง [บางขุนเทียน] หากแต่เป็นนายสอน สุวรรณเสวก [อ่านว่า สุ-วรรณ-นะ-เส-วก] รกรากเป็นคนพื้นที่ใต้วัดใหม่สุทธาวาส ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี คนคนเดียวกันกับที่แวดวงดนตรีปี่พาทย์เขตพระนครในอดีต เรียก ‘นายสอนผ่านฟ้า’

พินิจชีวิต ‘พินิจ ฉายสุวรรณ’

November 4, 2017

สารคดีขนาดสั้นฉายภาพชีวิตนักปี่พาทย์และครูดนตรีไทยสามัญชน ผู้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง [ดนตรีไทย] พ.ศ. 2540