รู้จักเรา

โคธาวารี ???

…หลายปีก่อน ผมไล่สายตาอ่านชื่อเพลงไทย ๒ ชั้น ใน “ประวัติชีวิตและผลงานครูสำราญ เกิดผล” ในจำนวนเหยียบร้อยเพลงมีทั้งชื่อที่คุ้นและแปลกหู “โคธาวารี” คือหนึ่งในนั้น

ด้วยเสน่ห์คำ ชื่อนี้ตรึงใจผมตั้งแต่แรกอ่าน พร้อมคำถามให้ครูท่านเจ้าของเพลงช่วยไข “เพลง ๒ ชั้น สำเนียงไทย เข้าใจว่าอยู่ในตำราท่านครูอาจ สุนทร ไม่ได้มีแต่ชื่อนะ ตัวเพลงก็มี”

ความชอบส่วนตัว จึงใช้ชื่อนี้เป็นช่อง You Tube เผยแพร่แบ่งปันงานเพลงไทยเดิม ไทยร่วมสมัย และไทยพื้นบ้านอีสานใต้ พร้อมตั้งเป็นชื่อ Blog ส่วนตัวสำหรับเผยเเพร่บทความดนตรีที่เขียนต่างกรรมต่างวาระ เเละตั้งเป็นชื่อเพจ Facebook ด้วยเช่นกัน

(สมัยพุทธกาล “โคธาวรี” หรือที่มักเพี้ยนเป็น “โคธาวารี” ชื่อแม่น้ำสายหนึ่งทางตอนใต้ของอินเดีย ตั้งระหว่างสุดพรมแดนเมืองอัสสกะกับอาฬกะ เล่าว่าพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อพาวารี ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนี้)

ยินดีทำความรู้จักได้ที่ facebook.com โดยพิมพ์คำว่า KOTAVAREE

(ขอบคุณกันต์ อัศวเสนา สำหรับความช่วยเหลือเเละคำเเนะนำดีๆ ในการจัดทำ Blog ส่วนตัวนี้)

(เเบบสัญลักษณ์ : เคยเล่าให้ฟังเเล้วว่า นำคำ ‘โคธาวารี’ มาจากชื่อเพลงไทย ๒ ชั้น เมื่อคิดจะทำเเบบสัญลักษณ์ก็หารูปสื่อเป็นนามธรรมไม่ได้ เพราะไม่เคยได้ยินเเม้เเต่ทำนองเพลง

กัลยาณมิตรท่านหนึ่งบอกกับผมว่า ‘โคธา’ คือ ‘เหี้ย’ ผมจำได้เงาๆ ว่า ปรากฏรูปสัตว์ชนิดนี้ที่หน้ากลองมโหระทึก (ถ้าสันนิษฐานอย่างนั้น) นึกสงสัยว่ามันสำคัญอย่างไร?

สรุปจากการถามหลายๆ ท่าน ‘เหี้ย’ เป็นสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ สัตว์พิทักษ์เเหล่งน้ำ ไม่เเน่ใจว่าภาคอื่นของไทย (ที่ไม่ใช่ภาคกลาง) ใช้คำนี้ด่าทอกันไหม ที่สำคัญปรากฏเป็นภาพสลักหินที่นครวัดด้วย

จึงนำตัวโคธามาทำเเบบสัญลักษณ์ เพื่อเเทนความอุดมสมบูรณ์ เพราะที่ไหนอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง ศิลปวัฒนธรรมย่อมงอกงามไพบูลย์ เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นต้น

เป็นเเบบสัญลักษณ์ที่ไม่มีรูปเทวดาจากอินเดียเเต่อย่างใด)

เคยเล่าให้ฟังเเล้วว่า นำคำ 'โคธาวารี' มาจากชื่อเพลงไทย ๒ ชั้น เมื่อคิดจะทำเเบบสัญลักษณ์ก็หารูปสื่อเป็นนามธรรมไม่ได้ เพราะไม่เคยได้ยินเเม้เเต่ทำนองเพลง กัลยาณมิตรท่านหนึ่งบอกกับผมว่า 'โคธา' คือ 'เหี้ย' ผมจำได้เงาๆ ว่า ปรากฏรูปสัตว์ชนิดนี้ที่หน้ากลองมโหระทึก (ถ้าสันนิษฐานอย่างนั้น) นึกสงสัยว่ามันสำคัญอย่างไร? สรุปจากการถามหลายๆ ท่าน 'เหี้ย' เป็นสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ สัตว์พิทักษ์เเหล่งน้ำ ไม่เเน่ใจว่าภาคอื่นของไทย (ที่ไม่ใช่ภาคกลาง) ใช้คำนี้ด่าทอกันไหม ที่สำคัญปรากฏเป็นภาพสลักหินที่นครวัดด้วย จึงนำตัวโคธามาทำเเบบสัญลักษณ์ เพื่อเเทนความอุดมสมบูรณ์ เพราะที่ไหนอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง ศิลปวัฒนธรรมย่อมงอกงามไพบูลย์ เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นต้น เป็นเเบบสัญลักษณ์ที่ไม่มีรูปเทวดาจากอินเดียเเต่อย่างใด

Comments

  1. สวัสดีคะ
    ทางเราอยากจะขออนุญาติ ใช้เพลง ของ Kotavaree ไปใช้ เปิดในงานเดินแฟชั่นโชว์ชุดผ้าไหมไทยแพรวา โดยเราใช้ เพลงดังกล่าว ร่วมกับเพลงอื่นๆ ด้วยคะ
    https://www.youtube.com/watch?v=xnnAxi24wFU

    หากมีข้อแนะนำหรือข้อเสนอแนะ กรุณาแจ้งกลับด้วยนะคะ

    ขอบคุณคะ
    กิตติมา ถิระวัฒน์

  2. pornnaphat rakdaeng says:

    สวัสดีค่ะ ทางเราขออนุญาตใช้คลิปวีดีโอจาก ยูทูป ไปใช้ในงานศิลปนิพนธ์ โดยทางเราจะขออนุญาตนำวีดีโอ https://youtu.be/9zuZOf12fZo ไปใช้เพื่อทำสื่อประกอบการเรียนการสอน หากมีข้อเสนอแนะ ขอความกรุณาแจ้งกลับได้ที่
    gmail : Pornnaphat71@gmail.com ด้วยนะคะ
    ขอบคุณค่ะ

  3. EOTechowo says:

    handwritten books were made,

  4. กานต์รวี says:

    สวัสดีค่ะ
    จากห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้มีนบุรี จะขออนุญาตนำเสียงส่วนหนึ่งของคลิปนี้ https://www.youtube.com/watch?v=9i9lIAhGXVw นำไปใช้ประกอบนิทานเรื่องผีปกกะโหล้ง โดยไม่แสวงหาหาผลกำไรใดๆ ซึ่งเราจะใช้แค่เสียงตอนเดี่ยวพิณเปี๊ยะเท่านั้น

    หากมีข้อเสนอแนะหรือแนะนำประการใด กรุณาแจ้งกลับด้วยนะคะ

    ขอบคุณค่ะ
    กานต์รวี

Leave a Reply to kittima thirawat Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *