Category: เชิงวิชาการ

50 ปี ปี่พาทย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา : วิถีผลิตครู-ศิลปินปี่พาทย์ บนเส้นทางการศึกษาปัจจุบัน

December 2, 2020

โดยเฉพาะ ‘บ้านสมเด็จเจ้าพระยา’ สถาบันเปิดสอนหลักสูตรดนตรี ตั้งแต่มีสถานะตั้งต้นเป็นวิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่ชัดเจนแล้วว่ามีวิถีความคิด ‘สร้างสรรค์’ ให้ความสำคัญกับการยอมรับอัตลักษณ์ทางดนตรีไทยที่ ‘หลากหลาย’

“พิพิธภัณฑ์ดนตรีเพื่อการศึกษา” ของวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หายไปไหน ?

July 15, 2020

ควบคู่กับการบุกเบิกการเรียนการสอนดนตรีเป็นวิชาเอกสถาบันแรกในระดับอุดมศึกษา ในหลักสูตรประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง [ป.กศ.ชั้นสูง] ของวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 กิจกรรมสำคัญที่ได้รับความสนใจจากนักเรียนนักศึกษาและเป็นความคิดก้าวหน้าทางวิชาการดนตรีสมัยนั้น คือ “นิทรรศการดนตรี”

‘ไม้ตะขาบ’ เสียงจังหวะในดนตรีพิธีกรรม เเละเสียงกระทบไล่สัตว์ในสังคมชาวสวน

May 27, 2020

กล่าวสั้นรวบรัดกระชับเพื่อเข้าใจ ‘ไม้ตะขาบ’ เป็นเครื่องกระทบในวัฒนธรรมไม้ไผ่ ทำหน้าที่เฉกเช่นกรับ เกราะ โกร่ง สำคัญที่เสียงจังหวะหนักจากแรงดีดกระทบไม้ไผ่ ดัง ‘ปัง-ปัง’ ไม่ต่างเสียงจังหวะหนักอื่นๆ ที่ได้จากอาการกระทุ้ง กระแทก กระทั่ง เครื่องเคาะตีไม้ไผ่/ไม้เนื้อแข็ง

ปี่พาทย์ท่าหลวงครอบครัว ‘ลัดดาอ่อน’ ทายาททางเพลงปี่พาทย์ ‘บ้านบาตร’

February 26, 2017

“วงปี่พาทย์ท่าหลวง” แหล่งชุมนุมชนคนดนตรีมีบทบาทขับเคลื่อนกิจกรรมร้องรำทำเพลงแห่งลุ่มแม่น้ำป่าสัก ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กว้างขวางถึงเขตรอยต่อจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี เป็นหลักศูนย์กลางความรู้เพลงดนตรีที่สำคัญของชุมชนโดยรอบ เพราะมีความสัมพันธ์กับครูเพลงปี่พาทย์หลายท่านในกรุงเทพฯ ในหลายช่วงเวลา

‘ผิดครู’ และอาถรรพ์ความเชื่อ ในวัฒนธรรมดนตรีอีสานใต้

June 17, 2015

กล่าวเบื้องต้นอย่างกระชับเพื่อความเข้าใจ เนื้อหาบทความชิ้นนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ‘ความเชื่อ’ แม้เป็นเรื่องที่ถูกท้าทายด้วยเทคโนโลยีโลกสมัยใหม่ และพิสูจน์ชัดเป็นรูปธรรมไม่ได้ หากแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อสังคมและวัฒนธรรมต่างกัน ความคิดความเชื่อย่อมแตกต่างกันด้วย การพิจารณาข้อมูลและคำเล่าต่างๆ จึงควรกระทำด้วย ‘วิจารณญาณ’ และ ‘เคารพ’ ความเชื่ออื่นๆ อย่างเข้าอกเข้าใจผู้คนต่างวัฒนธรรม แม้คำเล่าต่อไปนี้จะมีฤทธิ์ต่อท่านหรือไม่ก็ตาม

‘ฆ้องทุบ-ฆ้องตี’ กรรมวิธีสร้างและศิลป์เชิงช่างอีสานใต้

June 3, 2015

น่าสนใจว่า ทำไมพลังอธิบายวัฒนธรรม ‘มโหรี-ปี่พาทย์’ ของไทย จึงไม่กว้างขวางครอบคลุมพื้นที่อีสานเหนือใต้อย่างที่ควรเป็น ทั้งที่มีอยู่ควบคู่พิณ แคน โปงลาง หมอลำ เจรียง กันตรึม แต่ทว่าการรับรู้ไม่ต่างพื้นที่สีเทา คืออาจรู้หรือเห็นว่ามี แต่ถูกทำให้ชัดแจ้งหรืออธิบายเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับวัฒนธรรมกระแสหลักหรือไม่

จุดจบ ‘ฆ้องทุบ-ฆ้องตี’ บนโลกอุตสาหกรรมดนตรีไทย

March 30, 2015

ทุกวันนี้ ‘ลูกฆ้อง’ ในวัฒนธรรมดนตรีไทย ทั้งฆ้องใหญ่ ฆ้องเล็ก ฆ้องมอญ ผลิตด้วยกรรมวิธี 2 ลักษณะ อย่างแรกขึ้นรูปโลหะ [ลูกฆ้อง] ด้วยวิธีบุหรือทุบด้วยแรงคน เป็นกรรมวิธีอย่างเก่าที่ใช้ศาสตร์ ‘วิชาช่างบุ’ หนึ่งในงานช่างสิบหมู่ของไทยในการผลิต อย่างหลังผลิตด้วยวิธี ‘หล่อ’ อาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นนวัตกรรมที่เพิ่งเกิดขึ้นนับถอยหลังไม่ถึง 40 ปี

ปี่พาทย์บ้านหนองไทร จ.บุรีรัมย์ คุณค่าวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น หรือจะถูกกลืนหายไปในอนาคต

November 18, 2014

พร้อมกับเสียงเม็ดฝนเข้าพรรษาที่วัดหนองไทร อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เสียงประโคมปี่พาทย์ทุกเย็นวันโกนและเช้าวันพระตลอด ๓ เดือน ไม่เคยเงียบหายจากที่นี่ ความผูกพันระหว่างวัด ชุมชน กับวัฒนธรรมมโหรีปี่พาทย์ของผู้คนย่านนี้ยังแน่นแฟ้น

พิจารณา “เพลงตระ” ในหน้าพาทย์ไหว้ครู

June 18, 2014

หน้าพาทย์ เพลงที่ใช้ประกอบกิริยาและอารมณ์ตัวละครในการแสดงต่างๆ โดยจำลองการกระทำ พฤติกรรม และอากัปกิริยา (Behavior) มนุษย์ ถ่ายทอดผ่านทำนองเพลงที่จินตนาการหรือสื่อไปในกิริยาและอารมณ์นั้นๆ อีกนัยยะหนึ่ง การบรรเลงหน้าพาทย์ถือเป็นการแสดงความภักดีด้วยศิลปะ เพื่อใช้ต้อนรับสิ่งเหนือธรรมชาติในพิธีไหว้ครูดนตรีนาฏศิลป์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าพาทย์ชั้นสูงที่เรียกว่า เพลงตระ

หลังสิ้นเสียงกว่า ๑๐ ปี นึกว่า “ตุ้มโมง” จะสูญจากสุรินทร์ แต่วันนี้ยังอยู่

December 24, 2013

อดีตถึงปัจจุบัน“พิธีกรรมหลังความตาย” เป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ หลักฐานที่เป็นหลักประกันเพื่อโลกหลังความตาย ทั้งสิ่งปลูกสร้าง เครื่องใช้ไม้สอย เครื่องประดับ ฯลฯ ที่พบบริเวณสุสานหรือหลุมศพ บ่งบอกว่าศพเหล่านั้นไม่ใช่ศพสามัญ หากแต่เป็นผู้ทรงเกียรติหรือหัวหน้าชุมชน