ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ ครูดนตรีไทยเจ้าของวงสิงห์บุรี
บทความสารคดีขนาดยาว ร้อยเรียงเรื่องราวปฏิบัติตนของครูดนตรีไทย ชื่อ ‘ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ’ ที่ไม่เพียงเป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ หากแต่เป็นแรงบันดาลใจและตัวอย่างกำลังใจให้คนในโลกวิชาชีพครู
บทความสารคดีขนาดยาว ร้อยเรียงเรื่องราวปฏิบัติตนของครูดนตรีไทย ชื่อ ‘ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ’ ที่ไม่เพียงเป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ หากแต่เป็นแรงบันดาลใจและตัวอย่างกำลังใจให้คนในโลกวิชาชีพครู
ทันทีที่ข่าวจัด ‘คนรักดนตรีไทยรวมใจช่วยป๋อม บอยไทย’ แพร่สะบัดหน้าสื่อออนไลน์ แม้ในหมู่แวดวงคนดนตรีปี่พาทย์จะพอทราบ ว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ บัวทอง ทัพหน้านักระนาด ‘บ้านบัวทอง’ จังหวัดสุพรรณบุรี จะเคยผ่านสังเวียนประชันชั้นเชิงเพลงดนตรีกับคุณชัยยุทธ โตสง่า [ป๋อม บอยไทย] ในนาม ‘บ้านโตสง่า’ มาแล้วในอดีต หากแต่เขาไม่รอช้าขานรับพร้อมยื่นมืออาสาเป็นเจ้าภาพสถานที่จัด
นิยามตัวตน ‘สุรศักดิ์ กิ่งไทร’ ในหนึ่งย่อหน้า เขาเป็นคนจังหวัดลพบุรี ศิษย์เก่าวิทยาลัยนาฏศิลป กรุงเทพฯ ทุกวันนี้ตำแหน่งหน้าที่งานหลัก คือดุริยางคศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เสียงเครื่องเป่าไทยทั้งปี่/ขลุ่ยผลงานบรรเลงของเขา นอกจากปรากฏในส่วนงานราชการบนพื้นที่ดนตรีไทยในขนบ เขายังเป็นทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังเจ้าของเสียงเครื่องเป่าไทยบนพื้นที่ดนตรีร่วมสมัย
ต้องไม่ลืมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ มีรับสั่งให้ครูเทวาฯ แต่ง โหมโรงอาทิตย์อุทัย เมื่อ พ.ศ. 2480 ขณะออกไปเฝ้าที่ตำหนักประเสบัน เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ก็เท่ากับว่าโหมโรงนี้เกิดขึ้นในขณะที่ครูเทวาฯ มีอายุเพียง 30 ปี เท่านั้น
‘ครูสอนเพชรบุรี’ ที่ครูบุญยงค์กล่าวทิ้งท้ายไว้เป็นเบาะแส สืบสาวราวเรื่องแล้วแน่นอนว่าไม่ใช่ครูหลวงประดิษฐไพเราะ [ศร ศิลปบรรเลง] ครูสอน วงฆ้อง หรือครูสอน อยู่ประคอง [บางขุนเทียน] หากแต่เป็นนายสอน สุวรรณเสวก [อ่านว่า สุ-วรรณ-นะ-เส-วก] รกรากเป็นคนพื้นที่ใต้วัดใหม่สุทธาวาส ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี คนคนเดียวกันกับที่แวดวงดนตรีปี่พาทย์เขตพระนครในอดีต เรียก ‘นายสอนผ่านฟ้า’
สารคดีขนาดสั้นฉายภาพชีวิตนักปี่พาทย์และครูดนตรีไทยสามัญชน ผู้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง [ดนตรีไทย] พ.ศ. 2540
แม้ได้รับการยกย่องแต่เขาก็ไม่เคยถือตัววางท่าว่าเก่งหรือโอ้อวดคุณวิเศษสูงส่งของตนแต่อย่างใด ตรงกันข้ามคือแสดงออกไปในทางอัธยาศัยนุ่มนวลถ่อมเนื้อถ่อมตนแม้หลายครั้งจะรู้แน่ว่าตนโดนเอารัดเอาเปรียบ ทั้งตรวจสอบความคิดและน้อมรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เสมอ หากจะมีข้อตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิตของเขาอยู่บ้างก็เพราะปริศนาไม่ต่างดวงจันทร์ที่ไม่เคยเผยเงาอีกด้านให้ใครเห็น
สารคดีขนาดสั้น บันทึกชีวิตและงานของนักร้องชายสามัญชน ผู้ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญว่า ขับร้องเพลงไทยได้มากหลากหลายจากความทรงจำ มีผลงานบันทึกเสียงและร้องสด ทั้งเวทีบ้าน เวทีวัด เวทีราชการ และสื่อวิทยุโทรทัศน์มากที่สุดคนหนึ่งในแวดวงดนตรีไทยยุคปัจจุบัน
มิถุนา 57 หลังฟื้นไข้จากผ่าตัดใหญ่ ลุงอุทิศ อิ่มบุปผา ในวันวัย 81 ปี แม้ร่างกายได้รับผลกระทบจากความป่วยไข้ แต่ทว่าไม่คุกคามกัดกินกำลังใจและความทรงจำ ยังใช้เวลาแทบทั้งวันหน้าแท่นเครื่องมือช่างเพื่อผลิตขลุ่ย ชันเข่าทำงานไม่มีวันผ่อนพักอย่างคงเส้นคงวา เปรียบเป็นมวย ถือว่าลุงอุทิศยังออกหมัดตรงเป้าแถมเรี่ยวแรงยังดี ไม่ว่าคุณภาพผลงานเสียงขลุ่ย หรือชั้นเชิงตอบคำสัมภาษณ์ด้วยลีลาน้ำเสียงทีเล่นทีจริงมีลูกล่อลูกชนอย่างคนผ่านร้อนผ่านหนาว
เชื่อว่าน้ำเสียงท่านนี้ ไม่ว่าเสียงพูด เสียงร้อง หรือเสียงขับ เป็น ‘เสียงในความทรงจำ’ ของใครหลายคน ด้วยมีผลงานทางสื่อสารมวลชนมากว่า 50 ปี โดยเฉพาะน้ำเสียงทุ้มรื่นหู จังหวะพูดน่าฟัง ออกเสียงอักขระชัดเจน เมื่อนั่งโต๊ะประกาศข่าวทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และเป็นโฆษกรายการรวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ไม่ต่างจากเสียงร้องเสียงขับ เมื่อท่านเดียวกันต้องนั่งกลางวงปี่พาทย์มโหรี